โครงการฝนหลวง

“...ข้าพเจ้าแหงนดูท้องฟ้า และพบว่ามีเมฆเป็นจำนวนมาก แต่เมฆเหล่านั้นพัดผ่านที่แห้งแล้งไป วิธีแก้ไขอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไร ที่จะทำให้เมฆเหล่านั้นตกลงมาเป็นฝนในท้องถิ่นนั้น...”

ถอดความจาก The Rainmaking Story พระราชบันทึกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  วันที่ 14 พฤศจิกายน 2498

“...ข้าพเจ้าแหงนดูท้องฟ้า และพบว่ามีเมฆเป็นจำนวนมาก แต่เมฆเหล่านั้นพัดผ่านที่แห้งแล้งไป วิธีแก้ไขอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไร ที่จะทำให้เมฆเหล่านั้นตกลงมาเป็นฝนในท้องถิ่นนั้น...”

ถอดความจาก The Rainmaking Story พระราชบันทึกในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  วันที่ 14 พฤศจิกายน 2498

โครงการฝนหลวง

การทำฝนเทียมหรือโครงการฝนหลวงเกิดขึ้นจาก พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ เมื่อคราว เสด็จเยี่ยมราษฎรในภาคอีสานเมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยมี หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้ดำเนินการ และมี การทดลองทำฝนเทียมครั้งแรกในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2512 จากความสำเร็จของโครงการ ในปี พ.ศ. 2518 จึงได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาก่อตั้ง สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง และมีการพัฒนาเทคนิค การทำฝนหลวงเรื่อยมา

ในปีพ.ศ. 2542 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทาน “ตำราฝนหลวง” สำหรับเทคนิคที่เรียกว่า Super Sandwich ที่ทรงเป็นผู้คิดค้น และสรุปเป็น แผนภาพการ์ตูนโดยคอมพิวเตอร์ด้วยพระองค์เองโดยมีวิธีการ ดังนี้

  ก่อกวน ใช้สารเคมีทำให้ไอน้ำในอากาศกลายเป็นหยดน้ำและกลั่นตัวเป็นเมฆ

  เลี้ยงให้อ้วน ใช้สารเคมีกระตุ้นให้เมฆรวมกลุ่มกันเร็วขึ้นจนมีความหนาแน่นมากพอ

  โจมตี ใช้สารเคมีกระตุ้นให้กลุ่มเมฆตกลงมาเป็นฝน

โครงการฝนหลวงได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตร “การดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน” เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2545 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชให้ทรงเป็น "พระบิดาแห่งฝนหลวง" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันพระบิดาแห่งฝนหลวง

rain-making-scan
  ตำราฝนหลวง

The Thailand Royal Rainmaking Project

His Majesty King Bhumibol Adulyadej initiated The Thailand Royal Rainmaking Project in 1955 to resolve the drought in order to assist farmers. The Thailand Royal Rainmaking Project was initiated by His Majesty King Bhumibol Adulyadej in 1955. Since most Thai farmers have to wait for seasonal rain to grow crops, they are at times faced with difficulties from drought, so there might not be enough rainfall for crop growing. His Majesty the King invented artificial rainmaking techniques by applying the new technology with the capacity of raining. The first rainmaking project, initiated on July 20, 1969 at Khao Yai National Park, was successful. In 1971, the government established the Artificial Rainmaking Research and Development Project within the Thai Ministry of Agriculture and Cooperatives. In 1999, His Majesty made a pictorial book, “Royal Rainmaking Textbook,” through which he taught the the “Super Sandwich” technique of the rainmaking process.