โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

“...การทำเขื่อนหรือประตูบังคับนํ้า ห่างจากอำเภอปากพนังประมาณ 3 – 5 กิโลเมตรนี้ จะต้องทำอาคารบังคับนํ้าขนาดใหญ่ 1 ตัว และขนาดเล็ก 2 ตัว รวมทั้งขุดคลองเชื่อมและทำคลองนํ้าแบ่งเหมือนโครงการบางนรา ถ้าทำแล้วนากุ้งจะอยู่ส่วนนากุ้ง นาข้าวจะอยู่ส่วนนาข้าว...”

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 11 ตุลาคม 2535 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

“...การทำเขื่อนหรือประตูบังคับนํ้า ห่างจากอำเภอปากพนังประมาณ 3 – 5 กิโลเมตรนี้ จะต้องทำอาคารบังคับนํ้าขนาดใหญ่ 1 ตัว และขนาดเล็ก 2 ตัว รวมทั้งขุดคลองเชื่อมและทำคลองนํ้าแบ่งเหมือนโครงการบางนรา ถ้าทำแล้วนากุ้งจะอยู่ส่วนนากุ้ง นาข้าวจะอยู่ส่วนนาข้าว...”

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 11 ตุลาคม 2535 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ในเดือนตุลาคม ปีพ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำริจัดตั้งโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง เพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ให้พ้นจากวิกฤตความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหา 4 น้ำ (น้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเค็ม น้ำเสีย) 3 รส (เปรี้ยว เค็ม จืด)

แรกเริ่มโครงการได้มีการก่อสร้าง "ประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ" เพื่อกั้นระหว่างน้ำทะเลและแม่น้ำปากพนังเพื่อไม่ให้น้ำทะเลรุกล้ำเข้ามายังน้ำจืด และกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง มีการขุดลอกคูคลองต่างๆให้น้ำไหลเวียนสะดวก เพื่อแก้ปัญหาน้ำเสีย มีการสร้างประตูระบายน้ำฉุกเฉิน ใช้งานร่วมกับการบริหารจัดการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน และมีการแบ่งพื้นที่เกษตรกรรมตามลักษณะของน้ำ โดยมีภาครัฐคอยให้คำแนะนำ

ผลจากการดำเนินการเหล่านี้ ทำให้ปัญหาขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง น้ำท่วมในฤดูฝน ปัญหาการรุกล้ำของน้ำทะเล ปัญหาน้ำกร่อย ปัญหาน้ำเสียที่เกิดจากการทำนากุ้ง รวมถึงความขัดแย้งจากการใช้ที่ดินของเกษตรกรคลี่คลายลง ปริมาณผลผลิตในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้สมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลับคืนมา

The Royal-initiated Pak Phanang River Basin Development Project

His Majesty King Bhumibol Adulyadej launched this project to resolve the deterioration of the naturally fertile Pak Phanang River basin. The "Uthokvibhajaprasid" barrage was constructed to solve the problem of salinity intrusion, wastewater, fresh water shortage, and flooding. Government agencies work together to support local people, helping them use more effective agricultural resources, maximizing economic gain and reducing harmful environmental practices.