การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา บึงมักกะสัน

“...เบึงมักกะสันนี้ ทำโครงการที่เรียกว่าแบบคนจน โดยใช้หลักว่าผักตบชวาที่มีอยู่ทั่วไปนั้น เป็นพืชดูดความโสโครกออกมาแล้วก็ทำให้น้ำสะอาดขึ้นได้ เป็นเครื่องกรองธรรมชาติใช้พลังงานแสงอาทิตย์และธรรมชาติของการเติบโตของพืช...”

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 15 เมษายน และวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2528

“...เบึงมักกะสันนี้ ทำโครงการที่เรียกว่าแบบคนจน โดยใช้หลักว่าผักตบชวาที่มีอยู่ทั่วไปนั้น เป็นพืชดูดความโสโครกออกมาแล้วก็ทำให้น้ำสะอาดขึ้นได้ เป็นเครื่องกรองธรรมชาติใช้พลังงานแสงอาทิตย์และธรรมชาติของการเติบโตของพืช...”

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 15 เมษายน และวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2528

การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา บึงมักกะสัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริให้มูลนิธิชัยพัฒนาและกรุงเทพมหานครแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียโดยใช้ผักตบชวา ในพื้นที่บึงมักกะสัน เริ่มต้นจากการขุดลอกบึงมักกะสันเพื่อรับน้ำเสียจากคลองสามเสนมาบำบัด ในบึงปลูกผักตบชวาไว้ในคอกไม้ ลอยขวางกับแนวบึงเป็นระยะ เพื่อดูดสารพิษ โลหะหนัก และสารอินทรีย์ต่างๆที่ลอยมากับน้ำ โดยเปลี่ยนผักตบชวาทุก 10 สัปดาห์เพื่อรักษาประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำ วิธีการนี้สามารถบำบัดน้ำเสียได้วันละ 30,000-100,000 ลูกบาศก์เมตร ต่อมามีการเสริมเครื่องเติมอากาศแบบทุ่นลอย ทำให้สามารถบำบัดน้ำเสียได้วันละ 260,000 ลูกบาศก์เมตร สำหรับน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วระบายออกสู่คลองธรรมชาติตามเดิม

ผักตบชวานอกจากจะช่วยในการบำบัดน้ำเสีย ยังสามารถใช้ทำปุ๋ยหมัก เชื้อเพลิงหรืออาหารสัตว์ตามเหมาะสม ผลจากโครงการนี้ยังช่วยพัฒนาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่โดยรอบ

The Makkasan Swamp Project

To clean up wastewater in the Makkasan Swamp, His Majesty King Bhumibol Adulyadej developed an inexpensive, natural filter relying on water hyacinths, which have a great capacity to absorb pollutants. The aerators were also used in this project to enhance the efficacy of wastewater treatment. The water hyacinths were changed every 10 days and would thereafter be used as fuel, or for making baskets and place mats for people who live around the swamp.