การก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ

“...เขื่อนนั้นจะเป็นเครื่องมือสำหรับเฉลี่ย ปีไหนมีน้ำมากก็เก็บเอาไว้ไม่ต้องใช้ เพราะว่าน้ำฝนที่ลงมาพอใช้แล้วก็เก็บเอาไว้ ปีไหนที่น้ำน้อยก็เอาออกมาใช้ ทำให้ภัยแล้งบรรเทาลง ภัยของอุทกภัยก็บรรเทาด้วย...”

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 4 ธันวาคม 2536

“...ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายแบบประหยัดโดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น...โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง...”

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 1 มีนาคม 2521

การก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ

ฝายแม้ว (Check Dam) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างเขื่อนเก็บกักน้ำในภูมิภาคต่างๆของประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย ปัญหาน้ำแล้ง และประโยชน์ทางด้านการชลประทานและเกษตรกรรม รวมทั้งการใช้ประโยชน์แบบอเนกประสงค์ เช่น การผลิตไฟฟ้า การคมนาคม การประมง นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ช่วยสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนโดยรอบ

เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก

เป็นเขื่อนอเนกประสงค์แห่งแรกของประเทศไทย สร้างปิดกั้นแม่น้ำปิง มีภารกิจหลักเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าและการชลประทาน สามารถสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกได้ถึง 9.5 ล้านไร่

เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์

เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำน่าน สร้างปิดกั้นแม่น้ำน่าน เพื่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า การชลประทาน การประมง และบรรเทาปัญหาอุทกภัย

เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี

เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำแม่กลอง สร้างปิดกั้นแม่น้ำแควใหญ่ เพื่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า การชลประทาน บรรเทาปัญหาอุทกภัย และผลักดันน้ำเค็มบริเวณปากแม่น้ำกลองในช่วงฤดูแล้ง

เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ สร้างปิดกั้นแม่น้ำลำโดมน้อย เพื่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า การประมง บรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำและอุทกภัย

เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ สร้างปิดกั้นแม่น้ำพรม เพื่อการผลิตพลังงานไฟฟ้า การชลประทาน และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ตั้งอยู่ที่จังหวัดลพบุรีและจังหวัดสระบุรี สร้างปิดกั้นแม่น้ำป่าสัก เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง และบรรเทาการเกิดอุทกภัยในลุ่มน้ำป่าสักและลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง

เขื่อนขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก

เป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาลุ่มน้ำนครนายกตอนบน สร้างขึ้นเพื่อกักเก็บและจัดสรรน้ำให้แก่พื้นที่เกษตรกรรม บรรเทาปัญหาอุทกภัย แก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวภายในจังหวัดนครนายก

Dam

His Majesty King Bhumibol Adulyadej initiated a government unit to build dams in several areas for the purpose of water storage, agricultural irrigation, hydroelectric power production, flood control, fishery development, and polluted water management. In addition to addressing these needs, dam is a famous tourist attraction, providing jobs and profits for the local people and country.