ฝายแม้ว

“...ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายแบบประหยัดโดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น...โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง...”

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 1 มีนาคม 2521

“...ให้พิจารณาดำเนินการสร้างฝายแบบประหยัดโดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น...โดยน้ำที่กักเก็บไว้จะซึมเข้าไปในดิน ทำให้ความชุ่มชื้นแผ่ขยายออกไปทั้งสองข้าง...”

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 1 มีนาคม 2521

ฝายแม้ว

ฝายแม้ว (Check Dam) เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในการชะลอการไหลของน้ำในธรรมชาติเพื่อกักเก็บน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ระบบนิเวศ โดยใช้หลักวิศวกรรมพื้นบ้านและวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น กิ่งไม้ ก้อนหิน มากั้นชะลอน้ำในลำธาร หรือทางน้ำเล็กๆให้ไหลช้าลง

ในการสร้างฝาย ระดับความสูงของตัวฝาย ควรสูงประมาณ 40% ของความสูงของระดับน้ำสูงสุดในลำคลองหรือลำห้วย โดยที่สายน้ำยังสามารถไหลล้นผ่านฝายได้ตลอดเวลา เพื่อยังรักษาระบบนิเวศหน้าฝายไว้ ตัวฝายควรมีระดับความลาดชัน ประมาณ 20-45 องศา ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การก่อสร้างจะสร้างเป็นช่วงๆ แบบ ขั้นบันได โดยระยะห่างขึ้นอยู่กับพื้นที่ ตั้งแต่ 50-200 เมตร

น้ำที่ถูกกักเก็บไว้ จะช่วยให้พื้นที่โดยรอบเกิดความชุ่มชื้น ซึ่งช่วยในการฟื้นฟูผืนป่าที่เสื่อมโทรม ชะลอความรุนแรงของน้ำและลดการชะล้างพังทลายของดิน นอกจากนี้ยังเป็นการทดน้ำให้มีระดับสูงพอที่จะดึงน้ำไปใช้ในคลองส่งน้ำในฤดูแล้ง โดยไม่กระทบต่อระบบนิเวศ โดยได้มีการทดลองดำเนินการที่โครงการห้วยฮ่องไคร้ จ.เชียงใหม่ และประสบผลสำเร็จเป็นตัวอย่างให้แก่โครงการอื่นๆในเวลาต่อมา

Moisture Retention Dam (Check Dam)

His Majesty King Bhumibol Adulyadej designed a system of small Moisture Retention Dams, or “Check Dams,” to block small streams in watersheds or steep, sloping areas by using natural materials, such as wood and stone. Check Dams can provide and maintain moisture for the environment, as they reduce the velocity of water flow and prevent silt from flowing downstream, maximizing the use of rainfall. Moreover, the construction of multiple small Check Dams replenishes groundwater, giving farmers immediate relief.