กังหันน้ำชัยพัฒนา

“...เครื่องกลเติมอากาศ จะต้องมีความง่ายต่อการสร้าง การติดตั้ง การใช้งาน การบำรุงรักษา จะต้องพยายามใช้วัสดุภายในประเทศแบบไทยทำ ไทยใช้ ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อเนกประสงค์ และจะต้องมีราคาที่ประหยัด...”

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 26 พฤศจิกายน 2532

“...เครื่องกลเติมอากาศ จะต้องมีความง่ายต่อการสร้าง การติดตั้ง การใช้งาน การบำรุงรักษา จะต้องพยายามใช้วัสดุภายในประเทศแบบไทยทำ ไทยใช้ ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อเนกประสงค์ และจะต้องมีราคาที่ประหยัด...”

พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 26 พฤศจิกายน 2532

กังหันน้ำชัยพัฒนา

กังหันน้ำชัยพัฒนา หรือเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย เป็นเครื่องกลสำหรับบำบัดน้ำเสียอันเกิดจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้แนวทางจาก “หลุก” อุปกรณ์วิดน้ำเข้านาของชาวนา และให้มูลนิธิชัยพัฒนาเป็นผู้สนับสนุนการพัฒนาดังกล่าว อุปกรณ์นี้ใช้วิธีการหมุนปั่นเพื่อเติมออกซิเจนในน้ำ บำบัดน้ำเสียให้กลายเป็นน้ำดี ประหยัดค่าใช้จ่าย ตลอดจนมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ซึ่งปรากฏว่าสามารถทำให้น้ำใสสะอาดขึ้น ลดกลิ่นเหม็น และมีปริมาณออกซิเจนในน้ำมากขึ้น ตลอดจนบำบัดความสกปรกในรูปของมวลสารต่างๆให้ลดต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

ในปี 2543 กังหันชัยพัฒนา ได้รับรางวัลเหรียญทองจาก The Belgian Chamber of Inventor ภายในงาน “Brussels Eureka 2000” ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

The Chaipattana Aerator

The Chaipattana Aerator is a project designed by His Majesty King Bhumibol Adulyadej for treating polluted water. The Aerator is a modification of Luk, a local device used by farmers to scoop water from paddy fields. This device is simple and economical in design, making it easy to be manufactured and maintained. In November 2000, The Chaipattana Aerator received several awards, including the Golden Invention Award at the Eureka 2000 Exhibition in Brussels, Belgium.

โครงการอื่นๆ